The Kybalion : หลัก 7 ประการ ที่จะไขปริศนาของจักรวาลให้คุณบรรลุทุกสิ่งที่ต้องการ บทที่ 15: สัจพจน์เฮอร์เมส

บทที่ 15 สัจพจน์เฮอร์เมส

การครอบครองความรู้ หากมิได้มาพร้อมกับการแสดงออกและถ่ายทอดสู่การกระทำ ก็เปรียบเสมือนการกักตุนโลหะมีค่า ซึ่งเป็นเรื่องเปล่าประโยชน์และโง่เขลา ความรู้ก็เช่นเดียวกับความมั่งคั่ง มีไว้เพื่อการใช้ประโยชน์ กฎแห่งการใช้ประโยชน์เป็นสากล ผู้ใดฝ่าฝืนย่อมจะต้องทุกข์ทรมานเพราะไปขัดกับพลังแห่งธรรมชาติ” – The Kybalion

บทนี้เป็นบทสุดท้ายของคัมภีร์ Kybalion ซึ่งจะสรุปทุกอย่าง

แม้ว่าคำสอนเฮอร์เมสจะถูกหวงแหนและเก็บรักษาไว้ในจิตใจของผู้ครอบครองผู้โชคดีมาโดยตลอด ด้วยเหตุผลดังที่เราได้กล่าวไปแล้วนั้น ทว่าแท้จริงแล้ว คำสอนนี้มิได้มีไว้เพื่อการกักตุนและซุกซ่อน

เพราะดังที่ท่านจะเห็นได้ชัดเจนจากข้อความที่ยกมาจากคัมภีร์ไคบาเลียนข้างต้น กฎแห่งการใช้ประโยชน์นั้นได้รับการเน้นย้ำอย่างหนักแน่น ความรู้ที่ปราศจากการใช้และการถ่ายทอดนั้นไร้ประโยชน์ ไม่นำมาซึ่งสิ่งดีงามใดๆ

ทั้งต่อผู้ครอบครองและต่อผองชน จงระวังความตระหนี่ทางปัญญา และจงนำสิ่งที่ท่านได้เรียนรู้มาสู่การปฏิบัติ ศึกษาสัจพจน์และสุภาษิตเหล่านั้นให้เข้าใจ และที่สำคัญยิ่งกว่าคือจงนำมาลงมือทำด้วย

ต่อไปนี้ เราขอนำเสนอสัจพจน์เฮอร์เมสที่สำคัญยิ่งบางส่วน จากคัมภีร์ไคบาเลียน พร้อมกับคำอธิบายสั้นๆ ในแต่ละข้อ จงนำไปใช้ให้เป็นนิสัย และฝึกฝนนำไปปฏิบัติ เพราะสัจพจน์เหล่านี้จะไม่ใช่ของท่านอย่างแท้จริงจนกว่าท่านจะได้นำไปใช้

“หากจะเปลี่ยนอารมณ์หรือสภาวะทางจิตของท่าน — จงเปลี่ยนการสั่นสะเทือน” — คัมภีร์ไคบาเลียน

เราสามารถเปลี่ยนระดับการสั่นสะเทือนทางจิตด้วยพลังจิตตานุภาพ โดยการตั้งสมาธิให้ความสนใจในสภาวะที่เราปรารถนามากกว่า จิตตานุภาพจะเป็นตัวสั่งการความสนใจ และความสนใจจะปรับเปลี่ยนระดับการสั่นสะเทือน จงฝึกฝนศิลปะแห่งความสนใจด้วยการใช้พลังจิต แล้วท่านจะค้นพบเคล็ดลับในการควบคุมอารมณ์และสภาวะทางจิต

“เพื่อจะทำลายระดับการสั่นสะเทือนทางจิตที่ไม่พึงปรารถนา จงใช้หลักการแห่งขั้วตรงข้าม และตั้งสมาธิแน่วแน่ไว้ที่ขั้วตรงข้ามกับสิ่งที่ท่านต้องการจะขจัดออกไป จงกำจัดสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาด้วยการเปลี่ยนขั้วของมัน” – The Kybalion

นี่คือหนึ่งในสูตรลับเฮอร์เมสที่สำคัญที่สุด มีพื้นฐานอยู่บนหลักการทางวิทยาศาสตร์อันแท้จริง เราเคยแสดงให้เห็นแล้วว่าสภาวะทางจิตตรงกันข้ามกันแท้จริงแล้วคือสองขั้วของสิ่งเดียวกัน และด้วยการแปรสภาพทางจิต (Mental Transmutation)

เราสามารถย้อนขั้วได้ หลักการนี้เป็นที่รู้กันดีในหมู่นักจิตวิทยาสมัยใหม่ ผู้ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการหักล้างนิสัยที่ไม่พึงปรารถนา โดยให้ผู้รับการบำบัดหันมาเพ่งสมาธิอยู่ที่คุณลักษณะตรงข้าม หากท่านตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความกลัว อย่าเสียเวลาเปล่าพยายาม “กำจัด” มันออกไป

แต่จงขวนขวายบ่มเพาะความกล้าหาญแทน แล้วความกลัวนั้นจะมลายไปเอง นักเขียนบางท่านได้อธิบายแนวคิดนี้อย่างชัดเจนด้วยการยกตัวอย่างห้องมืด เราไม่จำเป็นต้องพลั่วหรือกวาดความมืดออกไป เพียงแค่เปิดหน้าต่างให้แสงแดดส่องเข้ามา ความมืดก็อันตรธานหายไป เช่นกัน

เพื่อขจัดคุณลักษณะทางลบ จงจดจ่ออยู่ที่ขั้วบวกของคุณลักษณะนั้นๆ การสั่นสะเทือนจะค่อยๆ แปรเปลี่ยนจากลบไปบวก จนในที่สุด ท่านจะตกอยู่ในขั้วบวก แทนที่จะเป็นขั้วลบ เช่นกันกับขั้วตรงข้าม นี่ก็เป็นจริงเช่นกัน

ดังที่หลายคนได้พบด้วยความเสียใจ ที่ยอมให้ตนเองสั่นสะเทือนในขั้วลบมากเกินไป ด้วยการเปลี่ยนขั้ว ท่านสามารถเป็นนายอารมณ์ เปลี่ยนสภาวะทางจิตใจ ปรับเปลี่ยนนิสัย และสร้างอุปนิสัยของตนเองขึ้นมาใหม่

ความเชี่ยวชาญทางจิตที่ปรากฏในปราชญ์เฮอร์เมสขั้นก้าวหน้านั้น ส่วนใหญ่มาจากการนำหลักการแปรเปลี่ยนขั้วไปใช้อย่างชำนาญ เป็นหนึ่งในแง่มุมสำคัญของการแปรสภาพทางจิต โปรดจดจำสัจพจน์เฮอร์เมสนี้ไว้ (ดังที่เรานำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้) ที่ว่า:

จิต (เคียงคู่โลหะและธาตุ) อาจแปรสภาพจากภาวะหนึ่งสู่อีกภาวะหนึ่ง จากขั้นหนึ่งสู่ขั้นถัดไป จากสภาพหนึ่งสู่อีกสภาพหนึ่ง จากขั้วหนึ่งสู่อีกขั้วหนึ่ง จากการสั่นสะเทือนหนึ่งสู่อีกการสั่นสะเทือนหนึ่ง” – The Kybalion

ความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของการเปลี่ยนขั้ว ก็คือความเชี่ยวชาญในหลักการพื้นฐานของการแปรสภาพทางจิตหรือเล่นแร่แปรจิต เพราะหากปราศจากศิลปะแห่งการเปลี่ยนขั้วของตนเองแล้ว ไซร้ ย่อมไม่อาจส่งอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้

ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในหลักการนี้จะทำให้เราสามารถเปลี่ยนขั้วของตนเอง และของผู้อื่นได้เช่นกัน หากทุ่มเทเวลา ใส่ใจ ศึกษาและฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เชี่ยวชาญในศาสตร์นี้ หลักการนี้เป็นความจริงแท้ แต่ผลลัพธ์ที่ปรากฏจะขึ้นอยู่กับความอดทนและหมั่นฝึกฝนอย่างไม่ย่อท้อของผู้ศึกษา

จังหวะอาจถูกทำให้เป็นกลางลงได้ด้วยการประยุกต์ใช้ศิลปะแห่งการเปลี่ยนขั้ว” – Kabylion

ดังที่เราได้อธิบายไปแล้วในบทก่อนๆ นักปรัชญาเฮร์เมสเชื่อว่าหลักการแห่งจังหวะนั้นแสดงออกทั้งในระดับจิตใจและในระดับกายภาพ และความสับสนวุ่นวายของอารมณ์ ความรู้สึก และสภาวะทางจิตต่างๆนั้น

เกิดจากการเหวี่ยงไปมาของลูกตุ้มแห่งจิต ซึ่งพาเราไปสุดขอบด้านหนึ่งของความรู้สึก ไปจนถึงอีกด้านหนึ่ง นักปรัชญาเฮร์เมสยังสอนอีกว่า กฎแห่งการหักล้าง (Neutralization) ช่วยให้เราก้าวข้ามการทำงานของจังหวะภายในจิตสำนึกได้ในระดับหนึ่ง ดังที่ได้อธิบายไว้แล้ว มีระดับของจิตสำนึกที่สูงกว่าระดับปกติ

และผู้เชี่ยวชาญนั้นเมื่อดึงตนเองขึ้นสู่ระดับจิตที่สูงกว่า ก็จะทำให้การเหวี่ยงของลูกตุ้มแห่งจิตเกิดขึ้นในระดับล่างแทน ส่วนตนเองนั้นจะสถิตอยู่ในระดับที่สูงกว่า จึงรอดพ้นจากการรับรู้ถึงการเหวี่ยงนี้ได้

ผู้เชี่ยวชาญทำสิ่งนี้ได้ด้วยการเปลี่ยนขั้วไปสู่ตัวตนระดับสูง จึงสามารถยกระดับการสั่นสะเทือนของอัตตาให้พ้นไปจากระดับจิตสำนึกปกติทั่วไป

สิ่งนี้คล้ายกับการที่เรายกระดับตัวอยู่เหนือสิ่งนั้น และปล่อยให้มันผ่านไปเบื้องล่าง ปราชญ์เฮอร์เมสขั้นสูงจะปรับขั้วตนเองไว้ที่ขั้วบวกแห่งตัวตน นั่นคือขั้ว “ฉันเป็น” แทนที่จะเป็นขั้วของอัตลักษณ์ชั่วคราว โดยปฏิเสธการทำงานของจังหวะ

พวกเขาดึงตนเองให้สูงกว่าระดับจิตสำนึกปกติทั่วไป และเมื่อมั่นคงในคำประกาศแห่งการดำรงอยู่ ก็จะปล่อยให้ลูกตุ้มแห่งจิตเหวี่ยงกลับไปบนระดับที่ต่ำกว่า โดยไม่เปลี่ยนขั้วตนเอง นี่เป็นสิ่งที่ทุกคนผู้บรรลุถึงความเป็นเจ้าแห่งตนในระดับหนึ่งสามารถทำได้ ไม่ว่าจะเข้าใจกฎนี้หรือไม่

คนเหล่านี้เพียงแค่ปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกตุ้มแห่งอารมณ์เหวี่ยงพวกเขากลับไปกลับมา และด้วยการยืนกรานมั่นคงในความเหนือกว่านี้ พวกเขาจึงดำรงขั้วไว้ที่ด้านบวกได้แน่นอนว่า ปราชญ์เฮร์เมสแท้จริงย่อมชำนาญขั้นกว่านี้มากนัก เพราะพวกเขาเข้าถึงกฎที่กำลังเอาชนะด้วยกฎที่สูงส่งกว่า

และด้วยการใช้พลังจิตก็จะบรรลุถึงความนิ่งและความมั่นคงทางจิตในระดับเหลือเชื่อสำหรับผู้ที่ยังปล่อยให้ลูกตุ้มเหวี่ยงตนเองไปมาด้วยอารมณ์และความรู้สึก

แต่จงจำไว้เสมอว่า ท่านไม่ได้ทำลายหลักการแห่งจังหวะนั้นไปได้จริงๆ เพราะมันไม่อาจถูกทำลาย ท่านเพียงแค่เอาชนะกฎข้อหนึ่งด้วยการสร้างสมดุลโดยใช้กฎอีกข้อหนึ่ง และด้วยวิธีนี้จึงรักษาสมดุลไว้ได้

กฎแห่งความสมดุลและการถ่วงดุลนั้นทำงานทั้งในระดับจิตใจและในระดับกายภาพ และความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในกฎเหล่านี้จะทำให้เราสามารถ “ฝ่า” กฎต่างๆ ได้ ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว เรากำลังใช้กฎอีกข้อหนึ่งมาหักล้างกัน

ทุกสรรพสิ่งล้วนไม่อาจรอดพ้นจากหลักการเหตุและผล ทว่า ยังมีระดับของเหตุและผลอยู่มากมาย และเราสามารถใช้กฎของระดับที่สูงกว่าเพื่อเอาชนะกฎของระดับที่ต่ำกว่าได้” – The Kybalion

ด้วยความเข้าใจในศาสตร์แห่งการเปลี่ยนขั้ว นักปรัชญาเฮอร์เมสสามารถยกระดับตนเองไปสู่ระดับเหตุและผล (Causation) ที่สูงกว่า และด้วยวิธีนี้ พวกเขาจึงหักล้างกฎของระดับเหตุและผลที่ต่ำกว่าได้

เมื่อก้าวพ้นระดับเหตุและผลธรรมดา พวกเขาจะสร้าง ‘เหตุ’ ขึ้นเองได้ในระดับหนึ่ง แทนที่จะตกเป็นแค่ ‘ผล’ ความสามารถในการเป็นนายอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงการทำให้จังหวะเป็นกลาง

ดังที่เราได้อธิบายไปแล้ว ทำให้พวกเขาสามารถหลุดพ้นจากการเป็นทาสของเหตุและผลในระดับปกติได้เป็นส่วนใหญ่ ผู้คนทั่วไปมักถูกชักพาไปโดยสภาพแวดล้อม ตามพลังจิตและความปรารถนาของผู้อื่นที่แข็งแกร่งกว่า ตามผลจากกรรมพันธุ์ ถูกบงการจากผู้คนรอบตัว รวมถึงสาเหตุภายนอกอื่นๆ

ทั้งหมดนี้ผลักดันให้พวกเขาดำเนินไปบนกระดานแห่งชีวิตเฉกเช่นเบี้ยตัวหนึ่ง ทว่า เมื่อก้าวพ้นอิทธิพลเหล่านี้แล้ว ปราชญ์เฮอร์เมสขั้นสูงจะมุ่งหน้าไปสู่ระดับการทำงานของจิตที่สูงกว่า ครอบครองอารมณ์ ความรู้สึก แรงขับต่างๆ เพื่อสร้างอุปนิสัย คุณสมบัติ และพลังใหม่ๆ ให้ตนเอง ซึ่งจะช่วยเอาชนะสภาพแวดล้อมปกติ และทำให้พวกเขากลายเป็นผู้เล่น ไม่ใช่แค่เบี้ย

คนเหล่านี้ช่วยในการเล่นเกมแห่งชีวิตด้วยความเข้าใจ แทนที่จะถูกสิ่งใดดึงไปมาตามใจชอบด้วยอิทธิพล พลัง หรือพลังจิตที่เข้มแข็งกว่า พวกเขาใช้หลักการแห่งเหตุและผล แทนที่จะตกเป็นทาสของมัน แน่นอนว่า

แม้แต่ผู้ที่อยู่ในระดับสูงสุดก็ยังตกอยู่ใต้อิทธิพลของหลักการนี้ เมื่อมันแสดงออกในระดับที่สูงกว่า ทว่าในระดับที่ต่ำลงมาพวกเขาคือเจ้านาย ไม่ใช่ทาส ดังที่คัมภีร์ไคบาเลียนกล่าวไว้ว่า

ปราชญ์ย่อมรับใช้ในระดับที่สูงกว่า แต่เป็นเจ้าในระดับที่ต่ำกว่า พวกเขาดำเนินตามกฎที่มาจากเบื้องบน แต่ยังปกครองและออกคำสั่งในระดับของตน และสิ่งที่เบื้องล่างต้องทำตาม กระนั้น แม้จะปฏิบัติดังนี้ พวกเขาก็ยังเป็นส่วนหนึ่งของหลักการ แทนที่จะเป็นปฏิปักษ์ต่อมัน เช่นเดียวกับนักว่ายน้ำผู้ชำนาญที่พลิกตัวไปมา ล่องไปล่องมาได้ตามใจชอบ แทนที่จะเป็นดังท่อนซุงที่ลอยไปลอยมาตามกระแสน้ำ ปราชญ์ก็เปรียบได้ดังนักว่ายน้ำผู้นั้นเมื่อเทียบกับคนทั่วไป ทว่าทั้งนักว่ายน้ำและท่อนซุง ทั้งปราชญ์และคนเขลา ทุกสิ่งต่างตกอยู่ภายใต้กฎเดียวกัน ผู้ที่เข้าใจความจริงนี้ ย่อมก้าวอยู่บนเส้นทางสู่ความเป็นเจ้าแห่งตน” – The Kybalion

สรุปสุดท้ายนี้ ขอให้เราหวนกลับมาสนใจสัจพจน์เฮอร์เมสกันอีกครั้ง:

การแปรสภาพอย่างแท้จริงแบบเฮอร์เมสนั้นเป็นศาสตร์แห่งจิต” – The Kybalion

ในสัจพจน์ข้างต้น นักปรัชญาเฮอร์เมสสอนเราว่า อิทธิพลเหนือสภาพแวดล้อมนั้นสำเร็จได้ด้วยพลังจิต เนื่องจากจักรวาลทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยจิต ดังนั้น จึงมีเพียงจิตเท่านั้นที่สามารถปกครองมันได้

และในความจริงนี้เราจะค้นพบคำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์ต่างๆ และการแสดงตัวของพลังจิตนานาชนิดที่ดึงดูดความสนใจและการศึกษาอย่างยิ่งในยุคต้นศตวรรษที่ 20 นี้ เบื้องหลังคำสอนของลัทธิและสำนักต่างๆนั้น

หลักการที่ว่าด้วยสสารแห่งจิตในจักรวาลยังคงไม่เปลี่ยนแปลง หากจักรวาลมีพื้นฐานมาจากจิตในธรรมชาติของมัน ดังนั้นการแปรสภาพทางจิตย่อมต้องสามารถเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขและปรากฏการณ์ต่างๆ ของจักรวาลได้

หากจักรวาลเป็นจิต ใจ/จิต ย่อมเป็นพลังสูงสุดที่ส่งผลต่อปรากฏการณ์ทั้งหลาย เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้ว เราจะเห็นว่าสิ่งที่เรียกว่า ‘ปาฏิหาริย์’ และ ‘สิ่งมหัศจรรย์’ ทั้งหมด แท้จริงแล้วคืออะไร

สรรพสิ่งที่เห็นและเป็นไปคือจิต จักรวาลคือสภาวะทางจิต” – The Kybalion

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *